วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

ฮาร์ดดิสก์พังมีวิธีแก้อย่างไรบ้าง


ฉันบังเอิญได้ไปอ่านบทความนี้จากเวปไซต์หนึ่งและเห็นว่าเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวกับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก จึงได้นำบทความนี้มาเขียนไว้ในบล็อกเพื่อเป็นความรู้แก่บุคคลที่เข้ามาอ่าน

หลายปีก่อนผู้เขียนได้รับบริจาคคอมพิวเตอร์ความเร็ว 500 MHz จากคุณน้า เพราะลูกของท่านต้องการเครื่องที่แรงกว่าไว้เล่นเกมซิม ดูหนัง และฟังเพลง เมื่อได้รับเครื่องบริจาคก็ใช้งานเรื่อยมาถึงสัปดาห์ก่อนก็มีอาการขัดข้อง ฮาร์ดดิสก์มีเสียงดังแกร็ก และค้นหาด้วยไบออส (BIOS) ไม่พบ แม้ถอดฮาร์ดดิสก์ไปทดสอบในเครื่องอื่นก็พบอาการเดียวกัน สรุปได้ว่าฮาร์ดดิสก์พัง และจะหาทางออกอย่างไร
ทางเลือกแรก คือ Flash Drive หรือ Thumb Drive ที่ราคาถูกลง มีความสามารถมากขึ้น สามารถเก็บข้อมูล และมีระบบปฏิบัติการในตัวได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีตัวเลือกที่จะบูตระบบด้วยอุปกรณ์ดังกล่าว ดังนั้นในอนาคตเราอาจไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดดิสก์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะทุกคนมีหน่วยความจำแบบพกพา (Portable Memory) ห้อยคอไว้ และมีความจุที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป
ซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่ หรือคอมพิวเตอร์มือสอง เป็นทางเลือกที่เร้าใจไม่แพ้กัน เพราะทั้งสองต่างก็ยังเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ความเร็วต่ำ เคลื่อนย้ายไม่ง่าย และอาจมีปัญหาเกิดขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้ เพราะอุปกรณ์อื่นในคอมพิวเตอร์ล้วนพ้นระยะเวลารับประกันทั้งสิ้น เหตุที่ 2 ทางเลือกนี้น่าสนใจ เพราะมีค่าใช้จ่ายต่ำ และได้น้ำได้เนื้อเป็นชิ้นเป็นอัน ที่มาพร้อมกับความเสี่ยง
ซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ราคาเริ่มต้นที่ 10,000 บาท หลายคนอาจไม่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของเครื่องประกอบเหล่านี้ แต่ขอให้เชื่อเถอะว่ามันอยู่ที่ดวง เพื่อนผมซื้อเครื่องยี่ห้อราคา 50,000 บาท ปีแรกส่งซ่อมซะ 3 ครั้ง ส่วนผู้เขียนซื้อเครื่องประกอบ แต่ไม่เคยส่งซ่อมเลย ถ้าต้องการแค่พิมพ์งาน แต่งภาพกราฟฟิก สืบค้นข้อมูล เขียนเว็บ ทดสอบโปรแกรม หรือลงหลายระบบปฏิบัติการ เครื่องประกอบราคาถูก รองรับได้แน่นอน
ทางเลือกที่ห้า บูตด้วยซีดีแทนฮาร์ดิสก์ ปัจจุบันมีการสร้างซีดี สำหรับบูตเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อกู้คืนข้อมูล ในกรณีฮาร์ดดิกส์ตัวเดิมทำงานผิดปกติ โดยมีหน้าตาแบบ Windows XP และสามารถใช้โปรแกรมต่าง ๆ ที่มีมาให้ ในเครื่องของผู้เขียนไม่มีฮาร์ดดิสก์เพราะพังไปแล้ว จึงทดสอบใช้ซีดีนี้บูตเครื่องแทนฮาร์ดิสก์ ผลการทดสอบพบว่าใช้งานได้เหมือนมีฮาร์ดดิสก์ตามปกติ แต่เสียดายที่ไม่มีเกมให้เด็กเล่น และไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลถาวร เมื่อไม่มีฮาร์ดดิสก์ ก็ต้องเก็บข้อมูลไว้ในแรม (Temporary Memory) หลังปิดเครื่อง หรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้ก็หายหมด ดังนั้นการนำซีดีที่ได้จาก www.reatogo.de มาใช้แทนฮาร์ดดิสก์อย่างเป็นเรื่องเป็นราวคงไม่ได้ เพราะเป้าหมายของการ Reatogo-X-PE เป็นเพียงแผ่นกู้คืนข้อมูล ในกรณีเข้าระบบปฏิบัติการของ Windows ตามปกติไม่ได้ และต้องการกู้คืนข้อมูลเท่านั้น .. แม้มีถึง 5 วิธีให้เลือก แต่วันนี้ก็ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกทางใด เพราะทุกทางต้องใช้เงิน และต้องใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น: